จริงๆแล้ว
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์อย่างเดียวก็สามารถที่จะสร้างผลผลิตกับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดีหรือแม้แต่
การเลี้ยงปลาดุกในกระชังก็ตาม แต่วันนี้เราขอเกาะกระแส
น้ำหมักที่ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในบ้านเราอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนแล้วยังช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ซึ่ง
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์ด้วยน้ำหมักนั้นจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ปลาช่วยในเรื่องของกลิ่นและรสชาติอีกด้วย แต่ทั้งนี้ขั้นตอนอาจจะดูยุ่งยากซับซ้อนสักนิดในการทำแต่รับรองว่าผลตอบแทนที่ได้จะเป็นที่น่าภูมิใจอย่างแน่นอนครับ
การเตรียมอุปกรณ์ในการเลี้ยง
- ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
- ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
- ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
- ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
- ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
- ตาข่าย
- น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
- ปูน ทราย หิน
- อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
- พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
- ลูกปลาดุก 70-80 ตัว
การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก
- จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย
- นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง
- นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง
สิ่งที่จะต้องเตรียมในการทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
- ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
- น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
- ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
- มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
- กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม
ขั้นตอนวิธีทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
หั่นมะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน
ประโยชน์ของการใช้น้ำหมักในการเลี้ยงปลาดุก
- เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
- ปลาไม่เป็นโรค
- ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
- ปลาไม่มีมันในท้อง
- ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย
ขั้นตอนการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ด้วยน้ำหมักที่เตรียมไว้
- นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
- นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง
- วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
- นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
- การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น
หมายเหตุที่ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที
- ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
- ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
- ปลาไม่ป่วย
- การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
- อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
- ถ่ายน้ำทุกๆ
- วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ
ขั้นตอนสุดท้ายเรื่องของการจำหน่าย
- ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
- ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
- ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี
หากนำไปประยุกต์ใช้กับบ่อเลี้ยงของตนเองแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมนำมาบอกกล่าวเพื่อนๆที่บล็อคแห่งนี้ด้วยนะครับ เผื่อจะเป็นไอเดียให้คนอื่นๆด้วย
0 comments:
Post a Comment