การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย

แบ่งปันข้อมูลให้เพื่อนๆ :
หากเพื่อนๆชาวเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกกำลังมองหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบ่อเลี้ยงของตัวเองและยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายไปในตัวด้วย อยากให้ลองมารู้จักกับ การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ หรืออาจจะเรียกว่าเป็นวีธีน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าก็ได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคนิคการเลี้ยงปลาดุกที่เราอยากนำเสนอ ผมคิดว่าวิธีการนี้น่าจะเหมาะกับผู้ที่เลี้ยงสัตว์อยู่หลายๆประเภทอยู่แล้ว ยังไงก็ไปติดตามกันเลย

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย

การเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือ การเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ และการเลี้ยงปลาร่วมกับปลานั้น เกษตรกรในประเทศไทยและต่างประเทศได้ปฏิบัติกันมานานแล้ว เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมทั้งบางประเทศในยุโรปตะวันออก เช่น ฮังการี ประเทศเหล่านี้ต่างยอมรับกันว่า ระบบการผลิตสัตว์น้ำและสัตว์บกที่ผสมผสานกันนี้ เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่กันเป็นอย่างดี นับเป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงมากระบบหนึ่ง

ลักษณะการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานมีดังต่อไปนี้

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานหากจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรือนเลี้ยงสัตว์จะพบว่ามีสองลักษณะคือ
  1. 1. แบบสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา เป็นแบบที่นิยมกันมากที่สุด สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนบนบ่อปลาจะได้ประโยชน์จากบ่อปลาในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต่ำลง สัตว์จึงจะไม่เครียด ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น การสร้างโรงเรือนอย่างนี้ยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงาน ข้อเสีย คือ ต้นทุนค่าสร้างโรงเรือนสูงขึ้น เนื่องจากต้องใช้ไม้ทำเสา และวัสดุปูพื้นเพิ่มขึ้น โรงเรือนลักษณะนี้เหมาะสำหรับเสี้ยงสัตว์เล็ก เช่น เป็ดหรือไก่เท่านั้น
  2. 2. แบบสร้างโรงเรือนแยกออกไปจากบ่อปลา โดยมีรางระบายมูลสัตว์จากโรงเลี้ยงมาสู่บ่อปลา แบบนี้จะพบมากในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น สุกร ที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่ก่อนแล้วจึงขยายเนื้อที่เลี้ยงปลาโดยการขุดบ่อในภายหลัง
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก fisheries.go.th

0 comments:

Post a Comment