เกี่ยวกับการตลาดของการเลี้ยงปลาดุกเพื่อขายภายในประเทศ

- 0 comments
จริงๆแล้วปลาเศรษฐกิจที่เพาะเลี้ยงเพื่อการค้าขายในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิดมากมาย เช่น ปลานิล, ปลาทับทิม, ปลาบึก, ปลาสวาย, ปลาช่อน หรือแม้แต่ปลาดุก ทั้งนี้ปลาดุกเป็นปลาเศรษฐกิจที่เป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงอย่างต่อเนื่องมาตลอด ทั้งในแง่ของปลาเนื้อและปลาแปรรูป ในปัจจุบันมีผู้ที่ทำการเลี้ยงปลาดุกมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงไม่สูงมากนัก และทำให้มีปลาเข้าตลาดได้อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังได้ปลาที่ดี มีรสชาติอร่อย ขนาดของปลาได้มาตรฐาน ทำให้ผู้บริโภคซื้อปลาที่ราคาไม่แพง แนวโน้มตลาดทิศทางของการเพาะเลี้ยงปลาดุกจึงเป็นไปอย่างสวยงาม

การนำปลาดุกที่เลี้ยงไปขายในตลาด

เมื่อทำการเลี้ยงปลาดุกไปแล้วประมาณ 5 เดือน ก็ถึงเวลาจับปลาขาย ปลาตามท้องตลาดจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาด ส่วนมากจะนิยมเรียกตามขนาดอยู่ 3 ประเภท คือ ปลาขนาด 3-5 ตัวต่อกิโลกรัมจะเรียกกันว่าปลาย่าง (เป็นขนาดปลาที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด) ปลาขนาด 2 ตัวต่อกิโลกรัม จะเรียกว่าปลาโบ้ แต่ไม่เป็นที่นิยมมากเท่าไร เพราะมีขนาดใหญ่เกินความต้องการ และขนาดครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปจะเรียกปลาหั่น ซึ่งราคาปลาไม่มีผู้ใดกำหนดจะเป็นไปตามกลไกตลาด ขึ้นอยู่กับมีผลผลิตในตลาดมากหรือน้อย ถ้าปลาในตลาดมีมากราคาก็จะต่ำ แต่ถ้าปลาในตลาดมีน้อยราคาก็จะสูง และที่สำคัญที่สุดคือความต้องการของผู้บริโภค ว่ามีมากหรือน้อยเพียงใดด้วย แต่ปัจจุบันมีผู้นิยมบริโภคปลาดุกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งลู่ทางของตลาดปลาดุกน่าจะยังคงสดใสสำหรับเกษตรกรชาวไทย

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
บางส่วนจากรายงานของ นายสัตวแพทย์ ดร.คณิต ชูคันหอม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสัตวแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
[Continue reading...]

วิธีการเลี้ยงปลาดุกในกระชังให้เจริญเติบโตได้ดี

- 0 comments
ทุกวันนี้เกษตรกรเริ่มหันมาทำการเลี้ยงปลาดุกมายิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการเลี้ยงปลาดุกในกระชังเป็นการใช้แหล่งน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ ในการเพิ่มอาหารโปรตีนอีกทางหนึ่ง ซึ่งการเลี้ยงปลาดุกนั้นสามารถเลี้ยงเป็นงานอดิเรกหรือเลี้ยงเป็นอาชีพประจำครอบครัวก็ได้ เพราะจะช่วยเก็บเศษอาหารที่เหลือให้เกิดประโยชน์ และถ้าเลี้ยงในกระชังขนาดใหญ่หลายๆ กระชังแล้วจะสามารถทำรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้มาก และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ แต่ทั้งนี้หากคิดจะทำจริงจังก็ควรจะศึกษาแนวทางในการเลี้ยง ทดลองการให้อาหารในแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาการเลี้ยงปลาดุกของเราได้ด้วย จะได้มีพ่อและแม่พันธุ์ปลาดุก หรือยังจะส่งผลให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตการเลี้ยงปลาดุกของเราเอง

สิ่งที่ควรคำนึงในการเลี้ยงปลาดุกในกระชังมีดังต่อไปนี้

  • คุณภาพของน้ำต้องดี
  • เป็นแหล่งที่มีกระแสน้ำไหลผ่านสะดวก
  • การคมนาคมสะดวก
  • ในบริเวณที่ใช้เลี้ยงปลาในกระชังควรปราศจากศัตรูธรรมชาติและโจรผู้ร้าย
  • ฤดูกาลที่เหมาะสม
  • ขนาดของกระชังพอเหมาะประมาณ กว้าง 1½ เมตร ยาว 2 เมตร ลึก 1.3 เมตร

คลิปวิดีโอวิธีการเลี้ยงปลาดุกในกระชัง



ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
บางส่วนจากรายงานของ นายสัตวแพทย์ ดร.คณิต ชูคันหอม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสัตวแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
[Continue reading...]

มารู้จักลักษณะและนิสัยของปลาดุกกัน

- 0 comments
ต่อไปเราจะเรียนรู้ลักษณะและนิสัยของปลาดุกกันเพื่อจะได้เข้าใจในธรรมชาติของปลาดุกและทำการเลี้ยงปลาดุกอย่างถูกต้อง รู้จักจุดเด่นจุดด้อย รู้ว่าต้องการอยู่ในบ่อแบบไหน เราจะได้เตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับมันมากที่สุด

ลักษณะและนิสัยของปลาดุกมีดังต่อไปนี้

โดยทั่วไปแล้วลักษณะรูปร่างของปลาดุกจะเรียวยาว ไม่มีเกล็ด มีหนวด 4 คู่อยู่ใกล้ๆกับปากซึ่งหนวดนี่แหละเป็นตัวช่วยให้สามารถรับความรู้สึกได้ดี และยังใช้หนวดมากกว่าใช้ตาในการหาอาหารตามพื้นดิน ตาของมันก็มีขนาดเล็กมากอีกด้วย ครีบหลังยาวไม่มีกระโดง ครีบอกก้านแรก มีลักษณะยื่นแหลม และอาจจะมีหรือไม่มีลักษณะเป็นฟันเลื่อยก็ได้ ส่วนนี้ช่วยพยุงร่างกายให้เกาะอยู่ในสภาพต่างๆ ได้ดี ปลาดุกชอบหากินตามหน้าดิน มีนิสัยว่องไว สามารถจะขึ้นมาอยู่บนบกได้นานกว่าปลาชนิดอื่นๆ รวมถึงสามารถที่จะอาศัยอยู่ในดิน โคลน เลน และในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้นาน เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนั่นเอง อาหารที่ปลาดุกชอบกิน ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารจำพวกพืชได้ รวมถึงสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำแทนการหาอาหารกินตามหน้าดินได้

การเลี้ยงปลากดุกนั้นยังมีรายละเอียดและข้อมูลอีกมากมายที่เรายังไม่ได้นำเสนอซึ่ง จะรวมรวบมาอีกในบทความหน้า อย่าพลาดติดตามกันนะครับ

คลิปวิดีโอการเลี้ยงปลาดุกอุยที่จันทบุรี



ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
บางส่วนจากรายงานของ นายสัตวแพทย์ ดร.คณิต ชูคันหอม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสัตวแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
[Continue reading...]

สาระและข้อมูลน่ารู้ที่ควรทราบก่อนทำการการเลี้ยงปลาดุก

- 0 comments
ก่อนที่เราจะทำการเลี้ยงปลาดุกหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดใดก็ตามเราควรที่จะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์นั้นๆด้วยเพื่อที่จะสามารถเพาะเลี้ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกวิธี จริงๆแล้วปลาดุกเป็นสัตว์ที่ชอบกินเนื้อประเภทหนึ่งและยังปลาที่คนไทย รู้จักกันดี และมีความนิยมนำมาบริโภคในอัตราที่สูง ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงอย่างงดงาม เพียงแต่มีน้ำดี สภาพพื้นที่ดี มีการเอาใจใส่ดูแลให้อาหารดี รวมทั้งผู้เลี้ยงขยันศึกษาหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้กับกิจการของตน และเพื่อสนองตอบปัจจัยในการเลี้ยงปลาดุกอย่างมีประสิทธิภาพ มาลองดูกันต่อเลยว่าคุณดุกมีทั้งหมดกี่ชนิดในประเทศไทยเรา

ปลาดุกที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ชนิด

ในประเทศไทยเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้ง หมด 5 ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี ซึ่งหากเกษตรกรท่านใดมีเทคนิควิธีสามารถเพาะเลี้ยงปลาดุกอุยได้จำนวนมากๆ ก็ยิ่งทำใ้ห้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการเลี้ยงปลาดุกอย่างแน่นอน

ปลาดุกอุย

สี ของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น

ปลาดุกด้าน

สี ของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก

แหล่งกำเนิดและถิ่นอาศัยของปลาดุก

ปลาดุกจะพบแพร่กระจายทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป แม้ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ยังพบปลาดุก ทั้งนี้เพราะปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่นเดียวกับปลาช่อน ดังนั้นจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยและถึงแม้ ว่าน้ำที่ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี

ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกได้จากบล็อคเล็กๆแห่งนี้เลยครับ ทางเราจะทำการหาข้อมูลดีๆมาให้เกษตรกรผู้รักการเลี้ยงปลาดุกทุกท่านครับผม หวังว่าจะถูกใจและเป็นประโยชน์ครับ

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/db_directory/fish/fish_cat.htm
[Continue reading...]