เกี่ยวกับการตลาดของการเลี้ยงปลาดุกเพื่อขายภายในประเทศ

แบ่งปันข้อมูลให้เพื่อนๆ :
จริงๆแล้วปลาเศรษฐกิจที่เพาะเลี้ยงเพื่อการค้าขายในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิดมากมาย เช่น ปลานิล, ปลาทับทิม, ปลาบึก, ปลาสวาย, ปลาช่อน หรือแม้แต่ปลาดุก ทั้งนี้ปลาดุกเป็นปลาเศรษฐกิจที่เป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงอย่างต่อเนื่องมาตลอด ทั้งในแง่ของปลาเนื้อและปลาแปรรูป ในปัจจุบันมีผู้ที่ทำการเลี้ยงปลาดุกมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงไม่สูงมากนัก และทำให้มีปลาเข้าตลาดได้อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังได้ปลาที่ดี มีรสชาติอร่อย ขนาดของปลาได้มาตรฐาน ทำให้ผู้บริโภคซื้อปลาที่ราคาไม่แพง แนวโน้มตลาดทิศทางของการเพาะเลี้ยงปลาดุกจึงเป็นไปอย่างสวยงาม

การนำปลาดุกที่เลี้ยงไปขายในตลาด

เมื่อทำการเลี้ยงปลาดุกไปแล้วประมาณ 5 เดือน ก็ถึงเวลาจับปลาขาย ปลาตามท้องตลาดจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาด ส่วนมากจะนิยมเรียกตามขนาดอยู่ 3 ประเภท คือ ปลาขนาด 3-5 ตัวต่อกิโลกรัมจะเรียกกันว่าปลาย่าง (เป็นขนาดปลาที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด) ปลาขนาด 2 ตัวต่อกิโลกรัม จะเรียกว่าปลาโบ้ แต่ไม่เป็นที่นิยมมากเท่าไร เพราะมีขนาดใหญ่เกินความต้องการ และขนาดครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปจะเรียกปลาหั่น ซึ่งราคาปลาไม่มีผู้ใดกำหนดจะเป็นไปตามกลไกตลาด ขึ้นอยู่กับมีผลผลิตในตลาดมากหรือน้อย ถ้าปลาในตลาดมีมากราคาก็จะต่ำ แต่ถ้าปลาในตลาดมีน้อยราคาก็จะสูง และที่สำคัญที่สุดคือความต้องการของผู้บริโภค ว่ามีมากหรือน้อยเพียงใดด้วย แต่ปัจจุบันมีผู้นิยมบริโภคปลาดุกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งลู่ทางของตลาดปลาดุกน่าจะยังคงสดใสสำหรับเกษตรกรชาวไทย

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
บางส่วนจากรายงานของ นายสัตวแพทย์ ดร.คณิต ชูคันหอม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสัตวแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

0 comments:

Post a Comment