การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์เพื่อการเพาะผสมพันธุ์ปลาดุก

- 0 comments
ในคำกล่าวที่ว่าดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ นั้นคงใช้ได้ดีกับเรื่องที่เราจะนำเสนอวันนี้ครับ เพราะเราจะว่าด้วยเรื่องของการขยายหรือเพาะพันธุ์ปลาดุก ซึ่งการที่ลูกปลาดุกจะออกมามีสุขภาพดีหรือแข็งแรงนั้นก็จะต้องดูที่พ่อแม่พันธุ์เป็นสำคัญ หากพ่อแม่ไม่สมบูรณ์แล้วโอกาสที่ลูกปลาจะออกมาไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็มีสูง ฉะนั้นเราจะไปติดตามวิธีการคัดเลือกและดูลักษณะของพ่อ - แม่พันธุ์ปลาดุกที่ดีกันครับ

การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์เพื่อการเพาะผสมพันธุ์ปลาดุก

ข้อมูลการคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์ปลาที่ดี

พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่นำ มาใช้ควรเป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่บอบชํ้า และควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป การ สังเกตลักษณะปลาเพศเมียที่ดีในการเพาะพันธุ์ดูได้ จากส่วนท้องจะอูมเป่ง ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ติ่งเพศจะ มีลักษณะกลมมีสีแดง หรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆ ที่ท้องจะมีไข่ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีนํ้าตาลอ่อนใส ไหลออกมา ส่วนปลาดุกเพศผู้จะมีติ่งเพศยาวเรียวมีสีชมพูเรื่อๆ ปลาไม่ควรมีขนาดอ้วนหรือผอมจนเกินไป ขนาดพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุก ควรมีขนาดนํ้าหนักมากกว่า 200 กรัมขึ้นไป หรือปลาที่มีอายุประมาณ 7-8 เดือน หรือ 1 ปี ให้อาหารที่มีคุณภาพดี เพื่อให้มีไข่แก่ จะใช้เวลา 3-4 เดือน มีการถ่ายเทนํ้าบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ ปลาถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น ส่วนปลาดุกเทศเพศผู้นิยมใช้ขนาดนํ้าหนักตัวมากกว่า 500 กรัมขึ้นไป และควร เป็นปลาที่มีอายุไม่ตํ่ากว่า 1 ปี ลำ ตัวเพรียวยาวและไม่อ้วนจนเกินไป

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หนังสือ การเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ขอบคุณภาพประกอบจาก bestfish4u.com
[Continue reading...]

การเลี้ยงปลาดุกด้วยพืชสามารถช่วยผู้ประสบกับการขาดทุน

- 0 comments
ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้น จึงไม่แปลกที่ทุกๆคนจะประสบกับปัญหาในเรื่องของราคาต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนทำให้ขาดทุนในการเลี้ยงปลาดุก วันนี้จึงได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการใช้พืชผักต่างๆมาเป็นอาหารเลี้ยงปลาดุกเพื่อลดต้นทุนในส่วนของค่าอาหาร ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนทางหนึ่งให้เกษตรกรผู้เลี้ยงได้นำไปทดลองใช้กับฟาร์มของตัวเอง

การเลี้ยงปลาดุกด้วยพืชสามารถช่วยผู้ประสบกับการขาดทุน

การเลี้ยงปลาดุกโดยทั่วไป ผู้ประกอบการจะประสบกับการขาดทุนหรือไม่คุ้มทุน เพราะปัจจัยการผลิตมีราคาแพง คือ อาหาร เกษตรกรหลายรายถึงกับเลิกการเลี้ยงปลาดุกไปทำกิจกรรมการเกษตร อย่างอื่นแทน จากการนำเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน หมู่ที่ ๑ ตำบล ควนกลาง อำเภอพิปูน ไปทัศนศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง มหาวิทยาลัยธรรมชาติ สถาบันเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเอง หมู่ที่ ๒ ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เทคนิคการเลี้ยงปลาดุกแบบคุ้มทุนและทำกำไรให้กับผู้เลี้ยง

ซึ่งเริ่มจากการให้อาหาร ปลาเล็ก ให้อาหารแบบนับเม็ด คือ ตัวละ ๕ เม็ด โดยแช่น้ำก่อนให้กิน เมื่อปลาดุกโตขึ้น อายุ ๑ เดือน ให้เริ่มฝึกให้กินพืชกินผัก เช่น ผักตบชวา ผักกะเฉด ผักบุ้ง แทนในมื้อเย็น ช่วงแรกปลาจะไม่ค่อยกิน เพราะปลาดุกเป็นปลากินพืช แต่เมื่อหิวจัดก็จะกัดกิน ให้ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนปลากินเป็น ปลาก็จะกินผัก อาหารจากพืชผักแทนอาหารมื้อเย็น ทำให้สามารถลดต้นทุนลงได้ครึ่งหนึ่ง เมื่อครบกำหนดการจับปลา ขายผู้บริโภคจะชอบซื้อ เพราะปลาจะมีเนื้อแน่น รสชาดก็คล้ายปลาธรรมชาติ

ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาดุกอีกอย่างหนึ่ง คือ ปัญหาของเนื้อปลามีกลิ่นสาบ วิธีการแก้ไข คือ เมื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำในทุก ๗ วันนั้นให้เติมน้ำจุลินทรีย์ลงไปด้วย ปริมาณการเติมขึ้นอยู่กับขนาดของ บ่อเลี้ยง ถ้าเลี้ยงในท่อซิเมนต์ใช้ ๒ – ๓ ช้อนโต๊ะ ก็จะทำให้ปลาดุกไม่มีกลิ่นสาบเวลารับประทาน หากจะให้การเลี้ยงปลาดุกให้ได้กำไร การให้อาหารพืชทดแทนในบางมื้อ ปลามีกลิ่นน่ารับประทาน ต้องใช้ น้ำจุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำ เป็นที่มาของปลาดุกโตเร็ว รสชาดดีเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค.

แหล่งที่มา phipun.nakhonsri.doae.go.th
[Continue reading...]

เรียนรู้วิธีการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาเพื่อให้ได้ผลผลิตตอบแทนสูงสุด

- 0 comments
วันนี้จะมาพูดถึงวิธีเตรียมบ่อเี้ลี้ยงปลาและประโยชน์ที่ได้รับต่างๆ ซึ่งก็เป็นความรู้เบื่องต้นที่สำคัญสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มการเลี้ยงปลาดุก เพราะถ้าหากเราเตรียมบ่อไว้ไม่ดีอาจจะทำให้บ่อปลาสกปรกจนเป็นแหล่งของเชื้อโรคได้ และแน่นอนว่าปลาที่เราเลี้ยงไว้ก็จะป่วยไปด้วย หรืออาจจะถึงขั้นตายยกบ่อเลยทีเดียว

เรียนรู้วิธีการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาเพื่อให้ได้ผลผลิตตอบแทนสูงสุด

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา หมายถึง การปรับสภาพแวดล้อม เช่น ความเป็นกรดเป็นด่าง ความสะอาดของก้นบ่อ ภายในบ่อเลี้ยงปลาก่อนการเลี้ยงปลาให้สามารถใช้เลี้ยงปลาได้โดยมีผลผลิตตอบแทนสูงสุดต่อหน่วยพื้นที่บ่อ

ประโยชน์ของการเตรียมบ่อเลี้ยงปลา

  • พื้นก้นบ่อมีโอกาสได้รับแสงแดดและออกซิเจน ทำให้อินทรีย์วัตถุที่หมักหมม อยู่ในบ่อมีการย่อยสลายตัวได้ดีทำให้อัตราการเจริญเติบโตของปลาดีขึ้น
  • เพิ่มเนื้อที่ของน้ำในบ่อให้มากขึ้น จากการลอกก้นบ่อและกำจัดวัชพืชต่าง ๆ ทำให้ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้มากขึ้น
  • ฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ในบ่อปลาให้น้อยลง ทำให้อัตราการรอดตายของปลาเพิ่มมากขึ้น
  • กำจัดศัตรูปลาต่างๆ เช่น ปลากินเนื้อ ได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาบู่ ทำให้อัตราการรอดตายของปลาเพิ่มขึ้น
  • การปรับปรุงคันบ่อในขณะเตรียมบ่อทำได้ง่ายขึ้น

วิธีการเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา

  • สำหรับบ่อเก่า ควรระบายน้ำออกแล้ว ปรับปรุงบ่อ โดยการถอนวัชพืชบริเวณก้นบ่อ ขอบบ่อ และคันบ่อออก ลอกเลนที่มีสีดำคล้ำและมีกลิ่นเหม็นออก
  • ใส่ปูนขาวโดยโรยให้ทั่วพื้นบ่อและขอบบ่อ
  • ตากบ่อทิ้งไว้ 2-3 วัน
  • กำจัดศัตรูปลาในกรณี ที่เป็นบ่อเก่าสูบน้ำให้แห้ง จะต้องทำการสูบน้ำในบ่อให้เหลือ 10-20 ซม. กำจัดวัชพืชต่าง ๆ ออกให้หมดแล้วกำจัดศัตรูปลาโดยใช้ยาเบื่อเมา
  • ปล่อยน้ำเข้าให้มีระดับความลึก 30-50 ซม. เพื่อกระตุ้นให้เกิดอาหารธรรมชาติ เช่น แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ เป็นต้น
  • ใส่ปุ๋ยคอกโดยหว่านให้ทั่วบ่อบริเวณที่มีน้ำท่วมถึงทิ้งไว้ 5-7 วัน
ขอบคุณข้อมูลจาก kasetsomboon.org
[Continue reading...]

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปลาที่ต้องควบคุมดูแลให้ถูกต้อง

- 1 comments
การเจริญเติบโตของปลานั้น นับได้ว่าสามารถที่จะบ่งบอกถึงการประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการเลี้ยงปลาเลยทีเดียว ซึ่งจะมีปัจจัยสำคัญหลายๆด้านให้ผู้เลี้ยงได้พิจจารณาประกอบกัน สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นในการเลี้ยงปลาดุกอย่างจริงจังนั้นเนื้อหาความรู้วันนี้สำคัญมาก ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้จำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพราะนั่นอาจจะหมายถึงเงินลงทุนที่ต้องขาดทุนไปในการทำธุรกิจเลยทีเดียว

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปลาที่ต้องควบคุมดูแลให้ถูกต้อง

ปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของปลามีดังต่อไปนี้

  • ปัจจัยที่เกิดจากการจัดการ
  • ปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
  • ปัจจัยที่เกิดจากความสมบูรณ์ของบ่อเลี้ยงปลา
  • ปัจจัยที่เกิดจากตัวปลาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาแตกต่างกันตามชนิดของปลา
  • ปัจจัยที่เกิดจากอาหาร
  • ปัจจัยที่เกิดจากโรคปลาและศัตรูปลา
  • ปัจจัยที่เกิดจากการจัดการ
ขอบคุณข้อมูลจาก kasetsomboon.org
[Continue reading...]

ข้อแตกต่างของปลาดุกอุยและปลาดุกเทศที่คนเลี้ยงควรทราบ

- 0 comments
จริงๆแล้วปลาดุก (Catfish) นั้นมีหลากหลายประเภทในบ้านเรา แต่วันนี้เราจะขอเจาะจงไปที่ปลาดุกอุยและปลาดุกเทศว่ามีข้อแตกต่างอะไรบ้าง เื่พื่อที่เราจะสามารถแยกแยะพันธ์ปลาทั้ง 2 ประเภทได้อย่างถูกต้อง หากในปัจจุบันนี้ก็มีปลาดุกลูกผสมอุย-เทศ หรือ บิ๊กอุย ที่ซึ่งเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่ายมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเป็นที่นิยมบริโภค ของประชาชนเนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก

ข้อแตกต่างระหว่างปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ

ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ

ลักษณะปลาดุกอุยปลาดุกเทศ
1.หัวเล็กค่อนข้างรีไม่แบน กระโหลกจะ ลื่นมีรอยบุ๋มตรงกลางเล็กน้อยใหญ่และแบน กระโหลกจะเป็นตุ่มๆ ไม่เรียบมีรอยบุ๋มตรงกลางเล็กน้อย
2. ใต้คางมีสีคลํ้าไม่ขาวสีขาว
3. หนวดมี 4 คู่ โคนหนวดเล็กมี 4 คู่ โคนหนวดใหญ่
4. กะโหลกท้ายทอยโค้งมนหยักแหลม มี 3 หยัก
5.ปากไม่ป้านค่อนข้างมนป้าน แบนหนา
6. ครีบหูมีเงี่ยงเล็กสั้นแหลมคมมากครีบแข็ง ยื่นยาวเกินหรือเท่ากับครีบอ่อนมีเงี่ยงใหญ่ สั้นนิ่มไม่แหลมคมและส่วน ของครีบอ่อนหุ้มถึงปลายครีบแข็ง
7. ครีบหลังปลายครีบสีเทาปนดำปลายครีบสีแดง
8. ครีบหางกลมไม่ใหญ่มากนักสีเทาปนดำกลมใหญ่ สีเทา ปลายครีบมีสี แดงและมี แถบสีขาวลาดบริเวณคอดหาง
9. สัดส่วนระหว่างหัว:ตัว1 : 41 : 3
10. สีของลำ ตัวดำ นํ้าตาลปนดำ ที่บริเวณด้านบน ของลำ ตัวเทา เทาอมเหลือง
11. จุดที่ลำ ตัวขณะที่ปลามีขนาดเล็กจะปรากฏจุด ขาวเรียงขวางเป็นทางประมาณ 9 - 10 แถวเมื่อปลามีขนาดใหญ่ จุดจะ เลือนหายไปไม่มีจุด เมื่อปลาโตขึ้นจะปรากฏลาย คล้ายหินอ่อนอยู่ทั่วตัว
12. ผนังท้องมีสีขาวถึงเหลืองเฉพาะบริเวณอกถึง ครีบท้องผนังท้องมีสีขาวตลอดจนถึงโคนหาง

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หนังสือ การเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[Continue reading...]

สอนการทำอาหารปลาดุกจากเนื้อหอยเชอรี่เพื่อช่วยลดต้นทุน

- 0 comments
ก่อนหน้านี้เราได้นำเสนอเกี่ยวกับสูตรการทำอาหารปลาดุกแบบง่ายๆไปแล้ว มาวันนี้ก็ยังเป็นเรื่องของอาหารปลาดุกแต่เป็นการนำเนื้อหอยเชอรี่มาเป็นส่วนประกอบหลักในการทำ ซึ่งจะว่าไปแล้วหอยเชอรี่นั้นเป็นศัตรูตัวฉกาจของชาวนาทั้งหลายก็ว่าได้แถมยังมีปริมาณมากเกินความต้องการอีก จึงเป็นการดีที่เราจะมาช่วยกำจัดหอยเชอรี่โดยการนำมาทำอาหารปลาดุก ก็นับได้ว่าเหมือนเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลย

สอนการทำอาหารปลาดุกจากเนื้อหอยเชอรี่เพื่อช่วยลดต้นทุน

 วัตถุดิบและส่วนผสม

  • หอยเชอรรี่บด (แห้ง) - 2 กิโลกรัม
  • ข้าวเปลือกบด - 9.5 ขีด
  • รำละเอียด  - 2 กิโลกรัม
  • กากถั่วเหลืองบด (แห้ง)  - 1 กิโลกรัม
  • ปลายข้าวเหนียวบด - 1 กิโลกรัม
  • เกลือป่น - 1.2 ขีด
  • กล้วยน้ำหว้า - 1 กิโลกรัม
  • กะทิ - 2 ลิตร
  • น้ำร้อน - 1-2.5 ลิตร
สอนการทำอาหารปลาดุกจากเนื้อหอยเชอรี่เพื่อช่วยลดต้นทุน

ขั้นตอนการผลิตอาหารเลี้ยงปลาดุกจากเนื้อหอยเชอรี่

  1. ชั่งน้ำหนักวัตถุดิบแต่ละชนิดตามสูตรอาหารต่างๆ แล้วบดให้ละเอียดโดยใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า
  2. ผสมวัตถุดิบต่างๆ ตามสูตรอาหารรวมกันโดยผสมนาน 30 นาที โดยเติมน้ำอุ่นทีละน้อยและนวดจนกระทั่งส่วนผสมของวัตถุดิบทั้งหมดสามารถจับตัวเป็นก้อน
  3. นำไปเข้าเครื่องอัดเม็ด
  4. ผึ่งให้แห้ง

ตารางแสดงคุณค่าทางอาหารและค่าองค์ประกอบของอาหารปลาดุกที่ผลิตขึ้นจากหอยเชอรี่

องค์ประกอบปริมาณทางอาหาร
โปรตีน(%)70.98
ไขมัน(%)13.53
คาร์โบไฮเดรต(%)37.53
การลอยตัว(นาที/น้ำ 1 กรัม)7.25
pH6.67

ในการให้อาหารแต่ละครั้งนั้นควรพึงระวังเรื่องการให้ในปริมาณที่มากเกินไปด้วยเพราะอาจจะทำให้น้ำในบ่อปลาดุกเน่าเสียและอาจเกิดปัญหาเรื่องโรคตามมาได้อีกด้วยครับ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก สนับสนุนงานวิจัยโดย : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้วิจัย : ผศ.ดร.โศภิษฐ์ เวทยสุภรณ์
ข้อมูลอ้างอิงจาก research.msu.ac.th/Clinic/index.php
ขอบคุณภาพหอยเชอรรี่จาก ngthai.com
[Continue reading...]

วิธีการอนุบาลลูกปลาดุกที่เพิ่งฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ

- 0 comments
สำหรับวิธีการอนุบาลปลาดุกนั้นก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญสำหรับคนที่คิดจะเลี้ยงปลาดุกแบบจริงจัง ซึ่งจะเป็นการดีหากเราสามารถที่จะขยายพันธ์ปลาดุกเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากจะประหยัดเงินจากการไปซื้อลูกปลาดุกมาเลี้ยงแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้โดยการขายลูกปลาดุกที่เลี้ยงอีกด้วย

วิธีการอนุบาลปลาดุกที่เพิ่งฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ

เกี่ยวกับลูกปลาที่ฟักออกมาไม่นาน

เมื่อเกิดมาใหม่ๆลูกปลาดุกจะใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว เมื่อถุงไข่แดงที่ติดมากับลูก ปลายุบ ให้ไข่ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากิน 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นจึงให้ลูก ไรแดงเป็นอาหาร ส่วนการขนส่งลูกปลาเมื่อลูกปลาอายุครบ 2 วัน สามารถขนย้ายได้ด้วยความระมัดระวังโดยใช้สายยางดูด แล้วบรรจุในถุงพลาสติกขนาด 18 นิ้ว ไม่ควรเกิน 10,000 ตัวต่อถุง หากขนส่งเกิน 8 ชั่วโมง ให้ลดจำ นวนลูกปลาลง

การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อซีเมนต์

สามารถดูแลรักษาได้ง่ายขนาดของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด ประมาณ 2-5 ตารางเมตร ระดับความลึกของนํ้าทีใช้อนุบาลลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร การอนุบาลลูกปลาดุกที่มีขนาดเล็ก(อายุ 3 วัน) ระยะแรกควรใส่น้ำ ในบอ่อนบุ าลลกึประมาณ 10-15 เซนตเิมตร เมอื่ ลกู ปลามีขนาดใหญ่ขึ้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับนํ้าให้สูงขึ้น การอนุบาลให้ลูกปลาดุกมีขนาด 2-3 เซนติเมตรจะใช้ เวลาประมาณ 10-14 วัน นํ้าที่ใช้ใน การอนุบาลจะต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน เพื่อเร่งให้ลูกปลาดุกกินอาหารและ มีการเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการป้องกันการเน่าเสียของนํ้าด้วย การอนุบาลลูกปลาดุกจะปล่อยในอัตรา 3,000-5,000 ตัว/ตรม. อาหารที่ใช้ คือ ไรแดงเป็นหลักในบางครั้งอาจให้อาหารเสริมบ้าง เช่น ไข่ตุ๋นบด ละเอียด เต้าหู้อ่อนบดละเอียด หรืออาจให้อาหารเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งหากให้อาหารเสริมจะต้องระวังเกี่ยว กับการย่อยของลูกปลาและการเน่าเสียของนํ้าในบ่ออนุบาลให้ดีด้วย

การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดิน

บ่อดินที่ใช้อนุบาลลุกปลาดุกควรมีขนาด 200-800 ตรม. บ่อดินที่จะ ใช้อนุบาลจะต้องมีการกำ จัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นก้นบ่อควรเรียบ สะอาดปราศจากพชืพรรณไม้น้ำต่างๆ ควรมีร่องขนาดกว้างประมาณ 0.5 -1 เมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ และลึกจากระดับ พื้นก้นบ่อ ประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลา และ ตรงปลายร่องควรมีแอ่งลึก มีพื้นที่ ประมาณ 2-4 ตรม. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมลูกปลา การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อจะต้องเตรียมอาหารสำหรับลูกปลา โดยการเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นอาหารให้แก่ลูกปลาก่อนที่จะปล่อย 1 ลูกปลาดุกลงอนุบาลในบ่อการอนุบาลในบ่อดินจะปล่อยในอัตรา 300-500 ตัว/ตรม. การอนุบาลลูกปลาให้เติบโตได้ขนาด 3-4 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 14 วัน แต่การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดินนั้น สามารถควบคุมอัตราการเจริญ เติบโตและอัตรารอดได้ยากกว่าการอนุบาลในบ่อซีเมนต์

ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในการอนุบาลลูกปลา

นํ้าเสียเกิดขึ้นจากการให้อาหารลูกปลามากเกินไป หากลูกปลาป่วยให้ ลดปริมาณอาหารลง 30-500 % ดูดตะกอนถ่ายนํ้าแล้วค่อยๆ เติมนํ้าใหม่หลังจากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะออก ซีเตตร้าซัยคลิน แช่ลูกปลาในอัตรา 10-20 กรัมต่อนำ 1 ลูกบาศก์เมตรหรือในไตรฟุราโชน 5-10 กรัม ต่อ นํ้า 1 ลูกบาศก์เมตร วันต่อๆมาใช้ยา 3/4 เท่า ปลาจะลดจำ นวนการตายภายใน 2 3 วัน ถ้าปลาตายเพิ่มขึ้น ควรกำจัดลูกปลาทิ้งไป เพื่อป้องกินการติดเชื้อไปยังบ่ออื่นๆ

หวังว่าวิธีการอนุบาลปลาดุกที่เราได้เพิ่งเสนอไปจะเป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลาดุกของทุกๆคนไม่มาก็น้อยนะครับ แล้วอย่าลืมให้คำติชมกันด้วยครับ ขอบคุณครับ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หนังสือ การเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[Continue reading...]

อึ้งกันใหญ่!! สาวอังกฤษฉายเดี่ยวตกได้ปลาดุกยักษ์ ยาวกว่า 2 เมตร

- 0 comments
เจอข่าวนี้ถึงกับอึ้งทีเดียวครับเพราะการตกปลาดุกยักษ์ได้ก็เก่งมากแล้ว แต่คนที่ตกได้ดันเป็นผู้หญิงอีกนี่ซิถึงกับอึ้งกันไปเลย จะหาปลาดุกไซส์แบบนี้ที่บ้านเราคงยากนะครับ แต่ยังไงก็ขอชมแม่สาวรายนี้จริงๆที่เย่อปลาตัวโตขนาดนี้ได้

ตะลึง!! หญิงสาวอังกฤษตกได้ปลาดุกยักษ์ ยาวกว่า 2 เมตร

เดลิเมล์ - หญิงสาวนักตกปลามือสมัครเล่นทำเอาแฟนหนุ่มที่เป็นมืออาชีพถึงกับอึ้ง หลังเธอตกได้ปลาดุกยักษ์ยาวกว่า 7 ฟุต (ราว 2.10 เมตร) และมีน้ำหนักเกือบ 55 กิโลกรัม ทุบสถิติปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกตกได้ในสหราชอาณาจักร

คริสติน โฮล สาวอังกฤษวัย 20 ปี จากเมืองแลคเลดส์ กลอสเตอร์เชียร์ จับปลาดุกยักษ์ตัวนี้ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าตัวเธอต่อหน้า ลี พอลลาร์ด แฟนหนุ่มซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตกปลา ทำเอาพอลลาร์ดต้องเสียหน้าเล็กน้อย

ทั้งนี้ คริสตินตกปลาตัวนี้จากแหล่งน้ำลึกที่แคมป์ตกปลาในเมืองนอร์โฟล์ค ทำให้เธอกลายเป็นผู้หญิงที่สามารถตกปลาน้ำจืดได้ขนาดใหญ่ที่สุดในสหราช อาณาจักร ทุบสถิติของสตรีรายหนึ่งที่เคยทำเอาไว้ 31 กิโลกรัม ขณะที่แฟนหนุ่มของเธอก็เคยตกได้ขนาดใหญ่ที่สุดเพียงแค่ 18 กิโลกรัมเท่านั้น

คริสตัน ซึ่งมีส่วนสูง 155 เซนติเมตร บอกว่าการตกปลาดุกยักษ์ 2 เมตรเศษๆ ตัวนี้ เหมือนออกแรงฉุดกระชากกับรถบัส ขณะที่เธอต้องใช้ความพยายามม้วนสายเบ็ดกว่า 1 ชั่วโมงถึงจะสยบมันลงได้สำเร็จ

จากนั้นเธอก็จัดการถ่ายภาพคู่กับปลาดุกยักษ์ตัวนี้และโพสต์มันลงบน อินเทอร์เน็ต ก่อนจะปล่อยมันคืนสู่ทะเลสาบในสภาพที่สมบูณ์และไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ


ขอบคุณข้อมูลจาก manager.co.th
[Continue reading...]

รู้หรือไม่? ปลาดุกคุณค่าทางด้านโปรตีนสูงเป็นอันดับต้นๆเลย

- 0 comments
วันนี้มีข้อมูลดีๆเกี่ยวกับปลาดุกมาฝากกันครับ  ซึ่งเป็นเรื่องของคุณค่าทางอาหารต่างๆในปลา โดยเฉพาะโปรตีนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายมนุษย์อย่างเราๆ ที่ช่วยซ่อมแซมส่วนสึกหรอต่างๆ ยิ่งถ้าเป็นพวกเล่นเพาะกายหรือฟิตเนสด้วยแล้วยิ่งมีความต้องการสูง ที่นี้ลองมาดูกันว่าปลาชนิดไหนจะให้คุณค่าทางโปรตีนมากกว่ากัน

รู้หรือไม่? ปลาดุกคุณค่าทางด้านโปรตีนสูงเป็นอันดับต้นๆเลย

คุณค่าทางด้านโภชนาการของปลา

ปลาเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เราจัดปลาไว้ในอาหารหลักหมู่ที่หนึ่งในประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นมและถั่วเมล็ดแห้ง โปรตีนในเนื้อปลาจะถูกนำไปใช้ในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ ไขมันที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะสมอง จะป้องกันการจับแข็งตัวของไขมันในเส้นเลือด วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะควบคุมการทำงานของร่างกายให้ทำหน้าที่ได้ตามปกติ

คุณค่าทางด้านโปรตีน

ปลาชนิดต่าง ๆ ให้โปรตีนในปริมาณที่สูงพอสมควร เนื้อปลา 100 กรัม จะประกอบขึ้นด้วยโปรตีนเป็นจำนวนกรัม ดังนี้
  1. ปลาดุก 23.0
  2. ปลาตะเพียน 22.0
  3. ปลากระบอก 20.7
  4. ปลาช่อน 20.5
  5. ปลาทู 20.0
  6. ปลาแป้น 19.6
  7. ปลาเก๋า 18.08
  8. ปลาทรายแดง18.4
  9. ปลาตาเดียว 18.1
  10. ปลาไส้ตัน 18.0
  11. ปลากราย 17.5
  12. ปลาหมอไทย 17.2
  13. ปลาสวาย 15.4
  14. ปลาหมึกกล้วย 15.2
  15. ปลาเนื้ออ่อน 14.4 
ไหนๆเราก็ทำการเลี้ยงปลาดุกเองแล้ว ก็หันมาบริโภคปลากันเยอะๆด้วยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://nutrition.anamai.moph.go.th
[Continue reading...]