โรคของปลาดุกเลี้ยงที่พบเจอเป็นประจำที่ต้องระวัง

แบ่งปันข้อมูลให้เพื่อนๆ :
อุปสรรคสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการเลี้ยงปลาดุก ก็คือ โรคต่างๆนี่แหละ เราควรหมั่นสังเกตอาการและปลาในบ่อเป็นประจำ หากเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นก็ควร รีบหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนั้นๆและรีบรักษาโดยด่วน แต่ในบางกรณี ถึงแม้จะมีการป้องกันอย่างดีแล้ว แต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงออกให้เห็นตามอาการต่อไปนี้

โรคของปลาดุกเลี้ยงที่พบเจอเป็นประจำที่ต้องระวัง

โรคของปลาดุกสามารถแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1. การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือด มีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวมมีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยหรือไม่กินอาหาร ลอยตัว

2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย มีจุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติ เหงือกซีด ว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง

3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม ที่พบบ่อยมักจะขาดวิตามินบี จะทำให้กะโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบี ปลาจะว่ายน้ำตัวเกร็งและชักกระตุก

4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติ ลอย หัว ครีบกร่อนเปื่อย หนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวมมีแผลตามตัว อนึ่ง ในการรักษาโรคปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
บางส่วนจากรายงานของ นายสัตวแพทย์ ดร.คณิต ชูคันหอม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสัตวแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

0 comments:

Post a Comment