การเลี้ยงปลาดุกด้วยพืชสามารถช่วยผู้ประสบกับการขาดทุน

แบ่งปันข้อมูลให้เพื่อนๆ :
ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้น จึงไม่แปลกที่ทุกๆคนจะประสบกับปัญหาในเรื่องของราคาต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนทำให้ขาดทุนในการเลี้ยงปลาดุก วันนี้จึงได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการใช้พืชผักต่างๆมาเป็นอาหารเลี้ยงปลาดุกเพื่อลดต้นทุนในส่วนของค่าอาหาร ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนทางหนึ่งให้เกษตรกรผู้เลี้ยงได้นำไปทดลองใช้กับฟาร์มของตัวเอง

การเลี้ยงปลาดุกด้วยพืชสามารถช่วยผู้ประสบกับการขาดทุน

การเลี้ยงปลาดุกโดยทั่วไป ผู้ประกอบการจะประสบกับการขาดทุนหรือไม่คุ้มทุน เพราะปัจจัยการผลิตมีราคาแพง คือ อาหาร เกษตรกรหลายรายถึงกับเลิกการเลี้ยงปลาดุกไปทำกิจกรรมการเกษตร อย่างอื่นแทน จากการนำเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน หมู่ที่ ๑ ตำบล ควนกลาง อำเภอพิปูน ไปทัศนศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง มหาวิทยาลัยธรรมชาติ สถาบันเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเอง หมู่ที่ ๒ ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เทคนิคการเลี้ยงปลาดุกแบบคุ้มทุนและทำกำไรให้กับผู้เลี้ยง

ซึ่งเริ่มจากการให้อาหาร ปลาเล็ก ให้อาหารแบบนับเม็ด คือ ตัวละ ๕ เม็ด โดยแช่น้ำก่อนให้กิน เมื่อปลาดุกโตขึ้น อายุ ๑ เดือน ให้เริ่มฝึกให้กินพืชกินผัก เช่น ผักตบชวา ผักกะเฉด ผักบุ้ง แทนในมื้อเย็น ช่วงแรกปลาจะไม่ค่อยกิน เพราะปลาดุกเป็นปลากินพืช แต่เมื่อหิวจัดก็จะกัดกิน ให้ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนปลากินเป็น ปลาก็จะกินผัก อาหารจากพืชผักแทนอาหารมื้อเย็น ทำให้สามารถลดต้นทุนลงได้ครึ่งหนึ่ง เมื่อครบกำหนดการจับปลา ขายผู้บริโภคจะชอบซื้อ เพราะปลาจะมีเนื้อแน่น รสชาดก็คล้ายปลาธรรมชาติ

ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาดุกอีกอย่างหนึ่ง คือ ปัญหาของเนื้อปลามีกลิ่นสาบ วิธีการแก้ไข คือ เมื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำในทุก ๗ วันนั้นให้เติมน้ำจุลินทรีย์ลงไปด้วย ปริมาณการเติมขึ้นอยู่กับขนาดของ บ่อเลี้ยง ถ้าเลี้ยงในท่อซิเมนต์ใช้ ๒ – ๓ ช้อนโต๊ะ ก็จะทำให้ปลาดุกไม่มีกลิ่นสาบเวลารับประทาน หากจะให้การเลี้ยงปลาดุกให้ได้กำไร การให้อาหารพืชทดแทนในบางมื้อ ปลามีกลิ่นน่ารับประทาน ต้องใช้ น้ำจุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำ เป็นที่มาของปลาดุกโตเร็ว รสชาดดีเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค.

แหล่งที่มา phipun.nakhonsri.doae.go.th

0 comments:

Post a Comment